วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อันตรายของคนทานรสหวาน



      ทานอาหารรสหวาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้

      

       1. ร่างกายสูญเสียวิตามินบี เพื่อเผาผลาญน้ำตาลในเซลล์ นานเข้าทำให้สมองมึนงง หงุดหงิดง่าย
       
        2. ตับอ่อนจะได้รับการกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
     
      3. แคลอรีที่ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและไตรกลีเซอไรด์สูง มีผลไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อัมพาต
     
     4. น้ำตาลที่เหลือในเซลล์จะถูกเปลี่ยนเป็นอัลดีไฮด์ มีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์ร่างกายเสื่อมเร็ว

    
      รู้อย่างนี้แล้ว คนที่ชอบทานหวาน ก็ควรทานให้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดี.


สารอาหารที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

           มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้   สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่
                                                  

สารบอแรกซ์ (Borax)  มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง  สารข้าวตอก  ผงกันบูด  เพ่งแซ  ผงเนื้อนิ่ม   สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น  ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน  เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง  เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่  หมูบด  ลูกชิ้น  ทอดมัน  หมูสด  เนื้อสด  ไส้กรอก  ผลไม้ดอง  ทับทิมกรอบ  ลอดช่อง    เป็นต้น
พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง  ส่วนอีกกรณีคือ แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
คำแนะนำ
     -
ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
     -หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบด
     -ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
     -โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 



สารกันรา  หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น
อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่  น้ำผักดอง  น้ำดองผลไม้  แหนม  หมูยอ    เป็นต้น
พิษของสารกันรา  เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้   ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้
            - หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย.
การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรดซาลิซิลิคในอาหาร  


                                          

สารฟอกขาว  หรือ ผงซักมุ้ง  หรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่  ถั่วงอก  ขิงฝอย  ยอดมะพร้าว  กระท้อน  หน่อไม้ดอง  น้ำตาลมะพร้าว  ทุเรียนกวน
อันตรายของสารฟอกขาว คือ  เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้
          - หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป
         คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว


                                   

สารฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาดองศพ  เป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย
อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก
การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้ ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


                                                        

ยาฆ่าแมลง   หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลง  ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง
อันตรายจากยาฆ่าแมลง  เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้  แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหาร คือ  เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น
การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

                                                     

    สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)     ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์
คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก
                                                                                                               

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10 อาหารที่แพทย์เตือน

               1. ไข่เยี่ยวม้า : ไข่ เยี่ยวม้ามี ตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง และอาจได้รับพิษตะกั่ว เช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ

    2. ปาท่องโก๋ : กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไป นอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย

                  3. เนื้อย่าง : กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

      4. ผักดอง : ผัก ดอง และของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกิน หรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูง และโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง


    5. ตับหมู : ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกิน หรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง(อัมพฤกษ์-อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น

  



      6. ผักขม ปวยเล้ง : ผักขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า... มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกิน หรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม หรือสังกะสีได้


  7. บะหมี่สำเร็จรูป : บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่สำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหาร และการสะสมสารพิษได้


    8. เมล็ดทานตะวัน : เมล็ด ทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทว่า... การกินมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ ภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯ เพิ่มขึ้น
    9. เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ : กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่าย... ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

     10. ผงชูรส : คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา... การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกินทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูง อาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์

                            หลีกเลี่ยงกับอาหารพวกนี้หน่อยน่ะจ๊ะ




 

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อาหารอะไร กินร่วมกันแล้ว... อันตรายยยยมาก


                       1. เหล้าขาวกับลูกพลับ กินด้วยกันไม่ได้จะทำให้เป็นพิษ


2.  หัวไชเท้ากับเห็ดหูหนู ทั้งดำและขาว กินด้วยกันไม่ได้จะเป็นโรคผิวหนัง


3.  เต้าหู้กับน้ำผึ้ง กินด้วยกันไม่ได้จะทำให้หูหนวก



4.  มันฝรั่งกับกล้วยทุกชนิด กินรวมกันไม่ได้จะทำให้หน้าเป็นฝ้า



5.  กล้วยกับเผือก กินด้วยกันไม่ได้จะทำให้ท้องอืด


6.  ถั่วลิสงกับฟักทอง กินรวมกันไม่ได้จะทำให้ทำร้ายร่างกายและลำไส้อักเสบ


7.  มันเทศกับลูกพลับ กินรวมกันแล้วจะทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร



8.  มันฝรั่งกับลูกพลับ กินรวมกันแล้วจะทำให้เป็นนิ่วในท่อปัสสาวะ


9.  หัวไชเท้ากับผลไม้ทุกชนิด กินรวมกันแล้วจะทำให้เกิดคอพอก





10.  น้ำเต้าหู้  นมสด  ห้ามใส่ไข่  เพราะจะทำให้ท้องผูกและเส้นเลือดตับ


11.  ผักป๋วยเล้ง  ห้ามกินกับเต้าหู้ จะทำให้เป็นนิ่วที่ไขสันหลัง



12.  กล้วย  มะละกอ  แตงโม  ห้ามกินด้วยกัน จะทำให้เป็นโรคไตกับโรคเบาหวาน

13.  ส้มกับมะนาว ห้ามกินด้วยกันจะทำให้กระเพาะทะลุ


14.  เหล้าขาวกับเบียร์  ห้ามกินด้วยกันจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก




15.  ปลาทุกชนิดห้ามต้มกับผักกาดดอง จะทำให้เป็นโรคมะเร็ง

16.  ขิงดอง ห้ามเข้าตู้เย็น กินแล้วจะเป็นโรคมะเร็ง


           17.  น้ำเต้าหู้ ห้ามใส่น้ำตาลแดง จะทำให้เสียวิตามิน
18.  น้ำข้าวห้ามใส่กับนม จะทำให้เสียวิตามิน
        19.  น้ำผึ้งห้ามชงด้วยน้ำที่ร้อนจะทำให้เสียวิตามิน
 
 20.   เหล้า เบียร์ กับ ทุเรียน ห้ามกินด้วยกัน เพราะจะทำให้เลือดสูบฉีดแรงความดันสูง อันตรายถึงชีวิต

  


 21.     บวบ  ซือกวย  ไชเท้า  ห้ามกินวันเดียวกัน ทำให้เชื้ออสุจิอ่อนไม่แข็งแรง










              เพราะฉะนั้นจะรวมอาหารกัน
                             ต้องดูให้ดีน่ะจ๊ะ
                                  เพื่อสุขภาพของตัวเอง
                                                                         ขอบอก อิๆๆๆ