วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารอันตรายทำลายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

อาหารที่คุณรับประทานในชีวิตประจำวัน บางทีคุณอาจไม่คิดว่า มันมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ เพราะอาหารเหล่านี้สามารถหาซื้อทานได้ตามท้องตลาดทั่วไป วันนี้เราจะมาดูภัยร้ายของอาหารเหล่านี้กันนะค่ะ จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยร้ายแอบแฝงอาหารเหล่านี้กันนะได้ทันค่ะ

เห็ด  อาจเป็นที่รู้ๆ กันว่าเห็ดเป็นอันตรายถึงชีวิตได้.... เห็ดที่อันตรายหรือเห็ดที่มีพิษนั้น นอกจากทำให้เกิดอาการทางประสาท หรือประสาทหลอนแล้ว เห็ดยังมีอันตรายถึงชีวิตได้ เช่นเห็ดระโงกหิน (Death Cap) และ เห็ดไข่เป็ด (Destroying Angel) เป็นเห็ดที่มีพิษร้ายแรง
              แม้จะมีข่าวอยู่บ่อยครั้งว่า เสียชีวิตเพราะทานเห็ด แต่ทุกวันนี้ยังคงมีคนนิยมเก็บเห็ดตามป่ามาปรุง อาหาร โดยไม่ทราบว่า มีพิษหรือไม่ ดังนั้นการเลี่ยงรับประทานเห็ดที่ หน้าตาไม่คุ้น หรือไม่รู้จักจึงปลอดภัยที่สุดค่ะ


มันสำปะหลัง มันสำปะหลัง มักถูกนำมาผลิตในอาหารหลากหลายรูปแบบ แต่พืชชนิดนี้จะส่งผลกระทบร้ายแรง หากมีวิธีและขั้นตอนการเตรียมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ในมันสำปะหลังยังมีสารไซยาไนด์แฝงอยู่  
        ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากอาจส่งผลถึงชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ดี เราจึงควรรับประทาน อาหารหรือขนมที่ทำจากมันสำปะหลังในปริมาณที่พอเหมาะสมและซื้อหรือปรุงด้วยวิธีที่ถูกต้องนะค่ะ

 ทูน่า  แทบไม่คาดคิดเมื่อปลาทูน่า อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งในสังคมปัจจุบัน จะถูกประกาศเป็นอาหารสุดยอดอันตราย ทั้งนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศเตือนสตรีมีครรภ์ และเด็ก ให้หลีกเลี่ยง หรือรับประทานในปริมาณแต่น้อย เนื่องจากทูน่า คือปลาตัวเล็กหลากหลายสายพันธุ์ และมีปริมาณสารปรอทสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการคลอดบุตรสำหรับคุณแม่มีครรภ์ และอาจทำลายระบบประสาทสำหรับเด็กที่กำลังมีพัฒนาการ

 ฮอทดอก  สถาบันกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ระบุว่า อาหารชนิดนี้ส่งผลอันตรายทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ เพราะเนื้อที่นำมาผลิตมักมีคุณภาพต่ำ หรือเป็นการนำเศษเนื้อที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์มาบดและทำเป็นไส้กรอก จากรายงานบอกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี มักเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจเมื่อบริโภคฮอทดอก


ผักใบเขียว เป็นที่น่าตกใจ เมื่ออาหารจำพวกผักใบเขียว ที่แลดูเป็นประโยชน์ต่อร่างกายจะตกอยู่ในอาหารอันตรายเช่นกัน โดยเมื่อปี 2009 ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ สาธารณะ ระบุชื่อผักใบเขียวทั้งหลาย อาทิ ผักโขม ผักสลัด กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง และผักคะน้า ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพผู้บริโภคมากที่สุด
         ซึ่งเมื่อปีที่ผานมาในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจากผักดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่รับประทานอาหารตามร้าน หรือภัตตาคาร ส่วนการติดเชื้อเชื่อว่าเกิดจากการละเลยความสะอาด ทั้งความสะอาดของมือผู้ปรุงอาหาร และความสะอาดของผักที่ล้าง โดยเชื้อโรคส่วนใหญ่ที่มากับผักชนิดดังกล่าว คือ ไวรัสไนโร ซึ่งติดมากับผักเมื่อได้รับการสัมผัสจากสัตว์ป่า หรือน้ำที่ไม่สะอาด
                                                                                                                                                             
                                                                                                                                                                              

อาหารอันตรายขณะท้องว่าง

     คุณทราบไหมว่าเมื่อท้องของคุณว่างแล้วคุณรับประทานอาหารเข้าไป อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณได้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะรับประทานอาหาร ควรเลือกชนิดของอาหารเสียก่อน อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ขณะท้องว่างมีชนิดใดบ้าง มีบางชนิดที่เราแทบไม่เชื่อเลยล่ะ

1.กล้วยเพราะกล้วยอุดมไปด้วยธาตุแมกนีเซียม การรับประทานกล้วย ขณะท้องว่าง จะทำให้ปริมาณธาตุแมกนีเซียมในเลือดสูงขึ้น ทำให้สูญเสียสัดส่วนของแคลเซียมและแมกนีเซียมไป เป็นการยับยั้ง การทำงานของหลอดเลือดหัวใจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างยิ่ง


2.กระเทียมเพราะการรับประทานกระเทียมขณะท้องว่าง จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหาร ได้รับการกระตุ้นเกิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบอย่างรุนแรง

 3.ผักการรับประทานผักอย่างเดียวขณะท้องว่าง จะทำให้กระเพาะอาหารเกิดอาการผิดปกติ เกิดแก๊สในกระเพาะ

4.นมและนมถั่วเหลืองแม้ว่านมถั่วเหลืองจะอุดมไปด้วยโปรตีน แต่จะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อกระเพาะอาหาร มีสารอาหารประเภทแป้งอยู่ด้วย ดังนั้นในขณะที่ท้องว่างจึงไม่ควรรับประทาน




5.เหล้าหากดื่มเหล้าในขณะท้องว่าง จะไปกระตุ้นเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้

6.น้ำตาลหรืออาหารหวานไม่ควรรับประทานอาหารหวาน หรือน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม ช็อกโกแลต เพราะหากรับประทานขณะท้องว่าง จะทำให้โปรตีนรวมตัวกับน้ำตาลส่งผลต่อการดูดซึมโปรตีนทุกชนิด และลดสมรรถภาพการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดและไต


7.ชาที่แก่เกินไป ชาทำให้กรดเกลือในน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารเจือจาง ส่งผลให้การทำงาน ของระบบย่อยอาหารลดลง และเกิดอาการใจสั่น เวียนศีรษะ มือเท้าไม่มีแรง จิตใจไม่สงบ



8.ลูกพลับไม่ควรรับประทานลูกพลับในขณะที่ท้องว่าง เพราะกระเพาะอาหารจะหลั่งกรดเกลือออกมามาก หากไปรวมตัวกับยาง และสารแขวนลอยในลูกพลับแล้วจะทำให้เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร 

นอกจากนั้น ยังไม่ควรออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เพราะการออกกำลังกาย ในขณะที่ท้องว่าง จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด
, เป็นลมหมดสติ หรือ ช็อกได้  เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย




                                       รู้อย่างนี้แล้วควรเลือกอาหารให้ดียามที่ท้องว่างน่ะจ๊ะ


15เมนูอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ

เรื่องอาหารการกิน จัดเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรต้องตระหนักและใส่ใจ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับการซื้อหาอาหารริมทางหรือตามตลาดนัด ดังรายชื่อเมนูอาหารสุ่มเสี่ยงข้างล่างนี้

          1.ขนมปังปี๊บ วางขายทั่วไปตั้งแต่ร้านโชวห่วยจนถึงซูเปอร์สโตร์ หลายคนชะล่าใจว่าวางขายในห้างแล้วจะปลอดภัยกว่าร้านขายของชำ แต่ไม่ว่าจะวางขายที่ไหนหากหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ควรบริโภค เพราะกระบวนการผลิตขนมปังบรรจุปี๊บบางแห่งไม่มีคุณภาพ


         
                              
        
 2.เชอร์รี่บนขนมเค้กตามตลาดสด เชอร์รี่สีแดง สีเขียว วางประดับเหนือครีมสีขาว บนขนมเค้ก ที่พบเห็นทั่วไปตั้งแต่ร้านเบเกอรี่จนถึงร้านขายของชำ ส่วนใหญ่จะย้อมสี ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไต


                                             
          3.ซูชิในตลาดนัด ซึ่งผู้ขายนำมาจากแหล่งผลิตใด วัตถุดิบคืออะไร ก็ไม่มีใครทราบ แต่พอถึงเวลาขายก็เอาออกจากกล่องพลาสติกมาวางกลางอากาศร้อนๆ เมื่อของสดบวก กับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ ผู้ที่ซื้อไปรับประทานก็จะมีอาการท้องร่วงท้องเสียตามมา

                                


          4.เอแคลร์-ลูกชุบ หรือขนมที่มีการปั้นๆ ถูๆ ต้องพึงระวังสุขอนามัย รวมถึงสีที่ใช้ ซึ่งหลายเจ้าไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร ใครทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว



  
          5.ลูกอมสีประหลาด ขึ้นชื่อว่าลูกอมก็ไม่ใช่ของที่น่ารับประทาน เพราะรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าทานมากก็ทำให้ฟันผุและมีน้ำตาลสูง แต่ถ้าเจอลูกอมสีแปลกๆ เช่น ฟ้า เขียว ม่วง สีจัดๆ สีเหล่านี้อาจเต็มไปด้วยสารตะกั่วและโลหะหนัก เพื่อสุขภาพที่ดีของปากและฟัน ควรหนีห่างเป็นดีที่สุด

          6.อาหารทะเลปลายฤดูร้อน อาจมีเชื้อไวรัส แบคทีเรียมากกว่าปากติ ฉะนั้นโอกาส ท้องเสียจึงมีสูง หากจะทานก็ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพื่อชะล้างฝุ่นดินโคลนออกเสีย

          7.อาหารสำเร็จรูปไมโครเวฟ ที่มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะเคมีในพลาสติกจะซึมสลายปะปนกับอาหาร สะสมในร่างกาย


          8.โยเกิร์ตตามซูเปอร์มาร์เก็ต จะมาเดี่ยวๆ หรือมาเป็นแพ็ก หลายรส หลายกลิ่น ก็ตาม เพราะผู้ผลิตบางรายอาจผสมแป้งลงไป เพื่อให้ได้ปริมาณและความข้น ขณะที่ผลไม้เชื่อมที่ใช้ก็ถูกสลายด้วยเกลือแร่และวิตามินซีไปนานแล้ว สิ่งที่ได้คือแป้งแต่งกลิ่น นมเปรี้ยว วิธีทดสอบง่ายๆ ลองหยดทิงเจอร์ไอโอดีนตามการทดลองวิทยาศาสตร์ตอนเด็กๆ ดู หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แปลว่าเจอโยเกิร์ตแป้งเข้าแล้ว


9.น้ำปลาเปิดขวด ควรมีอายุการใช้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน และเชื้อโรคตามอากาศที่ปะปนอยู่ในขวด

          10. ขวดซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ที่เปิดใช้แล้ว แม้จะเก็บไว้อย่างดีในตู้เย็น แต่หากเปิดใช้เหลือเกินกว่าวันที่ฉลากระบุ ก็ต้องจัดการทิ้งถังขยะ เพราะเชื้อราตามคอขวด ซอสเหล่านี้ เติบโตเร็ว

11.กระดาษหนังสือพิมพ์ ที่บ่อยครั้งเราจะเห็นแม่ค้านำมาห่อผักสด เข่งปลา วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารพิษจากหมึกจะปนเปื้อนในอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะนำ ไปห่อผักแช่ตู้เย็น


12.อาหารกระป๋อง ถ้าใช้ไม่หมดควรเอาออกจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นแช่ตู้เย็น เพราะอากาศจะเร่งปฏิกิริยาให้อาหารปนเปื้อนสารจากกระป๋องได้ง่าย

          13.ฟองน้ำล้างจาน ตามท่อ หรืออ่างล้างจาน เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หากนำกลับมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง แบคทีเรียที่มีน้ำยาผสมน้ำทิ้งไว้จึงไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง หากต้องการกำจัดเบื้องต้น ก็มีเคล็ดลับง่ายๆ โดยนำฟองน้ำล้างจานไปแช่ในน้ำส้มสายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ก็จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียได้ส่วนหนึ่ง


          14.อาหารหมักดอง เพราะเชื้อไวรัสในอาหารหมักดองมีฤทธิ์มากพอที่จะทำลายกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอาหารหมักดองที่ขายตามตลาด


15.เบียร์สด ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวด เพราะจะไม่ถูกกรองยีสต์ที่ตายแล้ว ก็อาจจะทำให้ได้รับซากยีสต์จากการดื่มด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังหากใครมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานแบคทีเรีย



                                                                                 ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ




ลิงค์กับองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ลิงค์ ที่เกี่ยวข้อง :
http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue1/cover/quality.html
 www.sahavicha.com/?name
www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/16386
http://www.at-etc.com/
www.greenlattes.com/.../204-is-climate-change-making-our-food-more
www.oknation.net/blog/toyubom/2009/08/20/entry-2
www.kroobannok.com/blog/4275
www.yourhealthyguide.com/article/ak-food-kidney.html
www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id
www.toptenthailand.com/display.php?id=173
www.clipmass.com/story/27667
www.kindeemeepak.com/knowledge_detail.php?id=90&cate=3
www.siamanswer.com/
http://www.nec.royyim.com/knowledge/view.asp?id=48
http://www.oknation.net/blog/diamond/2010/12/20/entry-1
http://www.petsang.com/
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3719

องค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
          - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
          - ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องราวร้องทุกข์
          - ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพ
          - สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
          - กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
          - ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
          - กลุ่มตรวจสอบภายใน
          - กลุ่มกฎหมายอาหารและยา
          - กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย
          - ศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพ
          - กองพัฒนางานศักยภาพผู้บริโภค
          - กองวางแผนงานและวิชาการ
          - กองควบคุมด้านอาหารและยา
          - กองควบคุมด้านอาหาร
          - กองควบคุมวัตถุเสพติด
          - กองควบคุมยา
          - กองควบคุมเครื่องมือแพทย์

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร 1556


สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร 1556
รู้ทุกคำตอบ เรื่องผลิตภัณฑ์คุณภาพ ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ
รับฟังข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโม'


 เปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น 17 เมนูหลัก ดังนี้

      เมนู 1 สาระน่ารู้ด้านยา
      เมนู 2 สาระน่ารู้ด้านอาหาร
      เมนู 3 สาระน่ารู้ด้านเครื่องสำอาง

      เมนู 4 สาระน่ารู้ด้านเครื่องมือแพทย์
      เมนู 5 สาระน่ารู้ด้านวัตถุเสพติด
      เมนู 6 สาระน่ารู้ด้านวัตถุอันตรายในบ้านเรือน

      เมนู 7 สาระน่ารู้ด้านโภชนาการ
     เมนู 8 สาระน่ารู้เพื่อผู้สูงอายุ
     เมนู 9 อย. กับงานในความรับผิดชอบ
     เมนู 10 ร้องเรียนแจ้งเบาะแส
     เมนู 11 รอบรู้ทันเหตุการณ์
     เมนู 12 สระน่ารู้ด้านพิษวิทยา
     เมนู 13 ผลิตภัณฑ์น่ากังขา
     เมนู 14 การปรับระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
     เมนู 15 ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     เมนู 16 อย. เพื่อเศรษฐกิจชุมชน
     เมนู 17 สาระน่ารู้ระบบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งชาติ
                                     

  
   หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ อย. โทร 1556

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
(ส่วนภูมิภาคติดต่อร้องเรียนโดยตรงได้ที่ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัด)  

  • ส่วนคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก โทร. 2813229, 2821554
  • ส่วนคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา โทร. 2811269, 2824523
  • ส่วนคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โทร. 2810580, 2825019
  • ส่วนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทร. 2814540, 2818494
  • โทรศัพท์สายด่วน โทร. 1166
  • โทรสาร 2827786
  • ส่งทางไปรษณีย์ - ตู้ ปณ.99 กรุงเทพฯ 10302
  • ส่งอีเมล์เพื่อแจ้งข้อมูล/แนะนำ/แสดงความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

อันตรายจากน้ำอัดลม

     1. ถ้าดื่มน้ำอัดลมมากและรับประทานอาหารอื่นน้อย จะทำให้ขาดสมดุลทางโภชนาการ ที่สำคัญคือ
ในเด็กถ้าปล่อยให้ดื่มแต่น้ำอัดลมไม่ได้ดูแลให้รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ อาจขาดสารอาหารได้

    2. ถ้าดื่มน้ำอัดลมในเวลาที่ใกล้จะถึงหรือในระหว่างรับประทานอาหารมื้อหลัก ทำให้อิ่มและทานอาหารได้น้อยลง
    3. น้ำอัดลมทำให้ฟันผุ เนื่องจากน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมากและมีสภาวะเป็นกรดด้วย ได้แก่ กรดคาร์บอนิก จะไปกัดกร่อนเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุได้
    4. น้ำอัดลมทำให้ท้องอืด เพราะเกิดก็าซในกระเพาะอาหารและสภาวะที่เป็นกรดของน้ำอัดลมก็ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารด้วย
    5. น้ำอัดลมดื่มได้พลังงานอย่างเดียว แต่เป็นพลังงานที่ว่างเปล่าหรือEmptycalories โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก
   6. คาเฟอีนในน้ำอัดลมส่งผลต่อร่างกาย เช่น ในวัยเด็กที่ดื่มน้ำอัดลมที่ผสมคาเฟอีนจะมีรูปแบบการนอนที่ผิดแผกไปจากเดิม เด็กเหล่านี้จะนอนไม่หลับในเวลากลางคืนและง่วงนอนในตอนกลางวัน
ทำให้เด็กมีผลการเรียนที่ต่ำลงกว่าเดิมด้วย คาเฟอีนที่มีในน้ำอัดลมบางชนิดจะไปกระตุ้นสมอง
อาจทำให้ผู้ดื่ม (ที่ค่อนข้างไวต่อคาเฟอีน) เกิดใจสั่นและปวดศีรษะได้
   7. การดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ ไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อร่างกายเท่าไรนัก ถ้าดื่มทุกวันหรือทุกมื้ออาหารจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากโดยไม่จำเป็น


                                
  รู้อย่างนี้แล้วควรลดเครื่องดื่มจำพวกนี้หน่อยน่ะจ๊ะ