วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

15เมนูอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ

เรื่องอาหารการกิน จัดเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรต้องตระหนักและใส่ใจ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับการซื้อหาอาหารริมทางหรือตามตลาดนัด ดังรายชื่อเมนูอาหารสุ่มเสี่ยงข้างล่างนี้

          1.ขนมปังปี๊บ วางขายทั่วไปตั้งแต่ร้านโชวห่วยจนถึงซูเปอร์สโตร์ หลายคนชะล่าใจว่าวางขายในห้างแล้วจะปลอดภัยกว่าร้านขายของชำ แต่ไม่ว่าจะวางขายที่ไหนหากหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ควรบริโภค เพราะกระบวนการผลิตขนมปังบรรจุปี๊บบางแห่งไม่มีคุณภาพ


         
                              
        
 2.เชอร์รี่บนขนมเค้กตามตลาดสด เชอร์รี่สีแดง สีเขียว วางประดับเหนือครีมสีขาว บนขนมเค้ก ที่พบเห็นทั่วไปตั้งแต่ร้านเบเกอรี่จนถึงร้านขายของชำ ส่วนใหญ่จะย้อมสี ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไต


                                             
          3.ซูชิในตลาดนัด ซึ่งผู้ขายนำมาจากแหล่งผลิตใด วัตถุดิบคืออะไร ก็ไม่มีใครทราบ แต่พอถึงเวลาขายก็เอาออกจากกล่องพลาสติกมาวางกลางอากาศร้อนๆ เมื่อของสดบวก กับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ ผู้ที่ซื้อไปรับประทานก็จะมีอาการท้องร่วงท้องเสียตามมา

                                


          4.เอแคลร์-ลูกชุบ หรือขนมที่มีการปั้นๆ ถูๆ ต้องพึงระวังสุขอนามัย รวมถึงสีที่ใช้ ซึ่งหลายเจ้าไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร ใครทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว



  
          5.ลูกอมสีประหลาด ขึ้นชื่อว่าลูกอมก็ไม่ใช่ของที่น่ารับประทาน เพราะรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าทานมากก็ทำให้ฟันผุและมีน้ำตาลสูง แต่ถ้าเจอลูกอมสีแปลกๆ เช่น ฟ้า เขียว ม่วง สีจัดๆ สีเหล่านี้อาจเต็มไปด้วยสารตะกั่วและโลหะหนัก เพื่อสุขภาพที่ดีของปากและฟัน ควรหนีห่างเป็นดีที่สุด

          6.อาหารทะเลปลายฤดูร้อน อาจมีเชื้อไวรัส แบคทีเรียมากกว่าปากติ ฉะนั้นโอกาส ท้องเสียจึงมีสูง หากจะทานก็ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพื่อชะล้างฝุ่นดินโคลนออกเสีย

          7.อาหารสำเร็จรูปไมโครเวฟ ที่มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะเคมีในพลาสติกจะซึมสลายปะปนกับอาหาร สะสมในร่างกาย


          8.โยเกิร์ตตามซูเปอร์มาร์เก็ต จะมาเดี่ยวๆ หรือมาเป็นแพ็ก หลายรส หลายกลิ่น ก็ตาม เพราะผู้ผลิตบางรายอาจผสมแป้งลงไป เพื่อให้ได้ปริมาณและความข้น ขณะที่ผลไม้เชื่อมที่ใช้ก็ถูกสลายด้วยเกลือแร่และวิตามินซีไปนานแล้ว สิ่งที่ได้คือแป้งแต่งกลิ่น นมเปรี้ยว วิธีทดสอบง่ายๆ ลองหยดทิงเจอร์ไอโอดีนตามการทดลองวิทยาศาสตร์ตอนเด็กๆ ดู หากเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แปลว่าเจอโยเกิร์ตแป้งเข้าแล้ว


9.น้ำปลาเปิดขวด ควรมีอายุการใช้ไม่เกิน 1 เดือน เพื่อป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน และเชื้อโรคตามอากาศที่ปะปนอยู่ในขวด

          10. ขวดซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ที่เปิดใช้แล้ว แม้จะเก็บไว้อย่างดีในตู้เย็น แต่หากเปิดใช้เหลือเกินกว่าวันที่ฉลากระบุ ก็ต้องจัดการทิ้งถังขยะ เพราะเชื้อราตามคอขวด ซอสเหล่านี้ เติบโตเร็ว

11.กระดาษหนังสือพิมพ์ ที่บ่อยครั้งเราจะเห็นแม่ค้านำมาห่อผักสด เข่งปลา วางจำหน่ายอยู่ทั่วไป สารพิษจากหมึกจะปนเปื้อนในอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะนำ ไปห่อผักแช่ตู้เย็น


12.อาหารกระป๋อง ถ้าใช้ไม่หมดควรเอาออกจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นแช่ตู้เย็น เพราะอากาศจะเร่งปฏิกิริยาให้อาหารปนเปื้อนสารจากกระป๋องได้ง่าย

          13.ฟองน้ำล้างจาน ตามท่อ หรืออ่างล้างจาน เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หากนำกลับมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง แบคทีเรียที่มีน้ำยาผสมน้ำทิ้งไว้จึงไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง หากต้องการกำจัดเบื้องต้น ก็มีเคล็ดลับง่ายๆ โดยนำฟองน้ำล้างจานไปแช่ในน้ำส้มสายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ก็จะช่วยลดจำนวนแบคทีเรียได้ส่วนหนึ่ง


          14.อาหารหมักดอง เพราะเชื้อไวรัสในอาหารหมักดองมีฤทธิ์มากพอที่จะทำลายกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะอาหารหมักดองที่ขายตามตลาด


15.เบียร์สด ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวด เพราะจะไม่ถูกกรองยีสต์ที่ตายแล้ว ก็อาจจะทำให้ได้รับซากยีสต์จากการดื่มด้วย ซึ่งต้องระมัดระวังหากใครมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทานแบคทีเรีย



                                                                                 ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น